อาการปวดบริเวณ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเท้า ที่พบบ่อย สามารถแบ่งได้ดังนี้

อาการปวดข้อศอก

อาการปวดข้อศอกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากเยื่อหุ้มข้อศอกอักเสบ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกอักเสบ หรือในบางครั้งอาการปวดข้อศอกอาจจะไม่ได้มีสาเหตุมาจากข้อศอกโดยตรง แต่เป็นการปวดร้าวมาจากบริเวณไหล่ ต้นคอ จนทำให้ปวดมาถึงข้อศอกก็เป็นได้ โดยอาการปวดข้อศอกที่พบได้บ่อย คือ เอ็นข้อศอกอักเสบ สาเหตุเกิดจากแรงที่กระทำต่อเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอก เช่น แรงดึง การสะบัด หรือการใช้งานซ้ำๆ มากเกินไป (overuse injury) ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกเกิดการบาดเจ็บ หรือถ้ารุนแรงมากก็อาจมีการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อขึ้นได้ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนที่ใช้ข้อมือและข้อศอกมาก หรือในการทำงานที่มีการใช้มือเกร็งในท่าซ้ำๆ และมีการกระดกข้อมือและเหยียดศอกอยู่เสมอ เช่น การปัดกวาดเช็ดถู การทาสี การตีกลอง การทำผม การใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตลอดจนการเล่นกีฬาต่างๆ โดยเฉพาะ กอล์ฟ และ เทนนิส แต่อาการจะแตกต่างกันที่ตำแหน่งการอักเสบ

โดยสามารถแบ่งตามตำแหน่งการอักเสบของเอ็นข้อศอกได้ 2 แบบ ดังนี้

1.Tennis Elbow หรือ เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ

ส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบใน นักเทนนิส และผู้ที่ต้องเหยียดแขนหรือกระดกข้อมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอก ก่อให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณข้อศอกด้านนอก บางรายปวดแขนท่อนล่าง หรือข้อมือร่วมด้วย โดยอาการปวดขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจปวดเล็กน้อยเฉพาะตอนขยับข้อมือและแขน หรือปวดมากอยู่ตลอดเวลา อาการปวดดังกล่าวอาจส่งผลให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้ยากลำบาก เช่น
หยิบจับสิ่งของ จับมือทักทาย ยกของ งอแขน หรือถือถ้วยกาแฟ จะมีอาการปวดมากขึ้น เป็นต้น

2.Golfer’s elbow หรือ เอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ

ส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบใน นักกอล์ฟ เนื่องจากเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้อย่างหนักโดยฉับพลันซ้ำ ทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณปุ่มข้อศอกด้านใน โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านในใกล้ปุ่มกระดูก ซึ่งอาการปวดมากขึ้นเมื่อกระดกข้อมือขึ้นในขณะที่เหยียดข้อศอก หรือเพียงแค่ขยับข้อศอกก็มีอาการปวดได้ ในบางรายที่มีการบาดเจ็บที่รุนแรงมากแม้ไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ของข้อมือหรือข้อศอกก็ทำให้เกิดอาการปวดได้ หากมีอาการรุนแรงหรือเรื้อรังอาจจะพบว่าปวดตึงลามลงไปถึงข้อมือ

อาการปวดข้อมือ

ปวดข้อมือ คือ ภาวะที่รู้สึกปวดและไม่สบายข้อมือ อาจเกิดจากข้อมือแพลง การใช้งานข้อมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน กระดูกหักจากอุบัติเหตุ ใช้มือค้ำตอนหกล้ม ใช้ข้อมืออย่างต่อเนื่องโดยไม่พัก เป็นต้น ซึ่งอาการปวดข้อมือจากการบาดเจ็บอาจปรากฏร่วมกับอาการบวมและช้ำ และข้อต่อติดแข็งได้ โดยอาการปวดข้อมืออาจเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบตามแต่สาเหตุ เช่น อาจปวดตื้อๆ คล้ายอาการปวดฟันหากเกิดจากโรคข้ออักเสบ หรือปวดเหมือนเข็มทิ่มหากเกิดจากภาวะกลุ่มอาการประสาทมือชาเพราะเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ เป็นต้น โดยอาการปวดข้อมือที่พบได้บ่อย มีดังนี้

1.เอ็นข้อมืออักเสบ (De quervain’s disease)

โรคเอ็นข้อมืออักเสบ พบได้บ่อยในกลุ่มคนที่ใช้มือทำงานบ่อยๆ ซ้ำๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะในท่านิ้วหัวแม่มือกางออก เช่น ซักผ้า บิดผ้า ขัดถูก เป็นต้น นอกจากนี้อาจพบโรคนี้ในหญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดที่ต้องใช้ข้อมือมากๆ เช่น อุ้มเด็ก ถือของ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มเอ็นและเส้นเอ็น (บริเวณข้อมือด้านหลังทางฝั่งนิ้วโป้ง) จนเอ็นหุ้มข้อมือเกิดการหนาตัวขึ้น ทำให้มีการบีบรัดหรือหดตัวของเส้นเอ็น จนเกิดเป็นอาการปวดขึ้น
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อมือมากโดยเฉพาะด้านนิ้วหัวแม่มือ เมื่อกางนิ้วหัวแม่มือออกเต็มที่ จะมีอาการคล้ายมีดบาด ร้าวไปตามทิศทางของเอ็นที่มีการอักเสบ หากมีอาการรุนแรงมาก จะเกิดการบวมบริเวณปลอกหุ้มเอ็นใกล้ๆ กับข้อมือ และทำให้การหยิบจับด้วยนิ้วโป้งและมือจะมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น

2.Mobile Syndrome หรือ Smartphone Syndrome

เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการก้มหน้าใช้โทรศัพท์มือถือนานๆ อาการทั่วไปก็มีลักษณะเดียวกันกับโรค Office Syndrome คือมีอาการปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ แต่ในส่วนของ Mobile Syndrome มักมีการปวดเกร็งบริเวณข้อมือ นิ้วมือ และแขนร่วมด้วย เนื่องจากเกิดการอักเสบของเอ็นข้อมือจากการใช้มือถือนานๆ ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมือและนิ้วมือ หรืออาจมีอาการบวมร่วมด้วย และเมื่อใช้นิ้วมือทั้งสี่กำหัวนิ้วโป้งไว้ เหยียดแขน แล้วกดกำมือลง
จะรู้สึกเกร็งและปวดมากขึ้น

3.โรคเส้นประสาทมีเดียนกดทับที่ข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)

Carpal Tunnel Syndrome เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนถูกบีบอัดหรือกดทับบริเวณข้อมือ ซึ่งอาจมีปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือ กระดูกข้อมือหักหรือเคลื่อน การใช้งานมือและข้อมือที่ไม่เหมาะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น แม่บ้าน แม่ครัว เป็นต้น เมื่อเกิดการกดทับของเส้นประทำให้เส้นประสาทกลางฝ่ามือขาดเลือดมาเลี้ยงและทำงานผิดปกติไปจากเดิม จึงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ ชา และเป็นเหน็บบริเวณมือ และแขน อาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณฝ่ามือกับนิ้วมือได้ โดยเฉพาะนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ อาจรู้สึกเหมือนถูกไฟช็อตที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางเป็นบางครั้ง โดยไม่มีอาการดังกล่าวที่นิ้วก้อย ทำให้ไม่สามารถใช้มือได้ตามปกติในชีวิตประจำวัน เช่น ติดกระดุมไม่ได้ หรือทำสิ่งของหลุดมือ เป็นต้น

อาการปวดข้อเท้า

ปวดข้อเท้า คือ ภาวะที่รู้สึกไม่สบายหรือปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อเท้า ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการบาดเจ็บที่กระดูกข้อเท้า การบาดเจ็บที่เส้นเอ็นข้อเท้า หรือจากภาวะข้อต่ออักเสบต่างๆ และในบางครั้งหากปวดข้อเท้ามากก็อาจทำให้ทิ้งน้ำหนักลงบนข้อเท้าไม่ได้ เดินลำบาก หรือเดินไม่ได้เลย
โดยอาการปวดบริเวณข้อเท้าที่พบได้บ่อย มีดังนี้

ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง (Ankle Sprain)

เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของเท้าและข้อเท้า พบมากในหมู่นักกีฬา เดินสะดุด หรือแม้แต่การใส่รองเท้าส้นสูง เมื่อเกิดข้อเท้าพลิก หรือ ข้อเท้าแพลง จะทำให้เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าบาดเจ็บ หรือ เกิดการฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วนหรือทั้งเส้น ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นบริเวณ ข้อเท้า ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง ผู้ป่วยจะมีอาการบวม และปวดบริเวณข้อเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลงน้ำหนักที่เท้าหรือได้รับแรงกด และอาจมีรอยเขียวๆ รอบข้อเท้า เนื่องจากการฉีกขาดของเส้นเลือดได้ หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้มีอาการเจ็บต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการฉีกขาดที่รุนแรงมากขึ้นได้

เอ็นข้อเท้าอักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis)

เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจากการทำกิจกรรมซ้ำๆ หรือใช้งานเอ็นร้อยหวายมากเกินไปจนทำให้เกิดความ ตึง เครียด ต่อเส้นเอ็น และเกิดการบาดเจ็บในที่สุด
โดยส่วนใหญ่มักพบในการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา เช่น การวิ่งที่มากเกินไป หรือวิ่งเพิ่มระยะทางและเวลาอย่างรวดเร็ว ขาดการยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมก่อนออกกำลังกาย กล้ามเนื้อน่องไม่แข็งแรง และกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมาก เช่น บาสเกตบอล กระโดดสูง เป็นต้น เมื่อเอ็นร้อยหวายเกิดการบาดเจ็บ ส่งผลให้มีการอักเสบ บวมแดง บริเวณเอ็นร้อยหวาย ส้นเท้า อาจเจ็บลามไปถึงกล้ามเนื้อน่อง โดยอาการปวดจะเป็นมากขึ้นขณะทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งเดิน เล่นกีฬา หรือยืดข้อ หากปล่อยไว้ก็อาจทำให้เส้นเอ็นฉีกและมีอาการแย่ลงได้

รองช้ำ หรือ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis)

คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า ซึ่งการอับเสบจะเกิดขึ้นที่เอ็นบริเวณส้นเท้าต่อเนื่องไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น การใส่รองเท้าส้นสูง การยืนหรือเดินนานเกินไป เป็นต้น ทำให้แรงที่กดลงมายังฝ่าเท้ามากเกินไป ส่งผลให้พังผืดมีความตึงตัวมากจนเกิดการบาดเจ็บและอักเสบในที่สุด โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้า อาการปวดจะมีลักษณะแปล๊บๆ เหมือนมีอะไรมาแทงบริเวณส้นเท้า อาการจะเป็นมากในตอนเช้า ขณะลุกจากเตียงเมื่อวางส้นเท้าลงกับพื้นอาจมีอาการสะดุ้ง ซึ่งอาการปวดจะค่อยๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2-3 ก้าว และสามารถกลับมาปวดมากเหมือนเดิมได้ใหม่ มักเป็นๆ หายๆ ตามลักษณะการใช้งาน เช่น การกระดกข้อเท้าขึ้นก็สามารถทำให้มีอาการปวดมากขึ้นได้ และถ้าผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนท่าเดินเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดบริเวณส้นเท้า อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วยได้ เช่น เข่า สะโพก และหลัง ในรายที่เป็นมานาน หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะเรื้อรังมากขึ้น และมักเอกซเรย์พบหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าด้วย

ทำไมการรักษาของเรา จึงช่วยคุณได้

การรักษาของเรา ไม่ใช่การรักษาที่มุ่งไปแค่ การจัดกระดูก หรือ การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เราเน้นการรักษาที่ สามารถแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในชั้นกล้ามเนื้อ, หมอนรองกระดูก, ข้อต่อ, พังผืด, เส้นลม, เส้นเอ็น รวมถึง เส้นประสาท ทั้งในบริเวณข้อมือ ข้อศอก และข้อเท้าซึ่งจะเป็นการแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดที่สุดและทำให้เห็นผลได้อย่างชัดเจนและถาวร

การรักษาของเรา ประกอบไปด้วยขั้นตอนสำคัญ 2 ขั้นตอน

การนวดแกะเส้น

เป็นการใช้นิ้วมือขยับกดไปตามมัดกล้ามเนื้อที่เกร็งตัว ทั้งในกล้ามเนื้อชั้นบน และ กล้ามเนื้อชั้นลึก (Deep tissue)  เพื่อให้ชั้นกล้ามเนื้อคลายจากการแข็งเกร็ง นอกจากนี้เรายังนำเทคนิคนี้มาใช้เพื่อ “แกะ” มัดกล้ามเนื้อที่บีบรัดกันมากๆ ให้กลับมามีความยืดหยุ่นได้ดังเดิม

ขั้นตอนนี้สามารถใช้นวดบริเวณกล้ามเนื้อที่ไม่เล็กจนเกินไป เพื่อแก้อาการ ปวดในบริเวณต่างๆ ที่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น Mobile Syndrome ปวดข้อเท้าที่มีการลุกลามขึ้นมาบริเวณน่อง เป็นต้น

การนวดแผนไทยประยุกต์

เป็นการนวดโดยการใช้ข้อศอกนวดลงบริเวณที่มีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อชั้นบนและกล้ามเนื้อชั้นลึก (Deep tissue) คลายตัวจากอาการตึงเครียดและอาการหดเกร็ง

โดยเราสามารถนำเทคนิคการนวดนี้มาใช้นวดคลายกล้ามเนื้อต้นขา หรือกล้ามเนื้อน่อง สามารถช่วยรักษาอาการปวดเข่าที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อขาได้ เช่น ITBS อาการปวดหลังดึงรั้งลงเข่า  ปวดบริเวณข้อพับขาจากกล้ามเนื้อ Hamsting หดเกร็ง เป็นต้น

การนวดสลายพังผืดและจุดปวดเกร็ง

การนวดในขั้นตอนนี้ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด และ เป็นขั้นตอนที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างถาวร การนวดในขั้นตอนนี้ เราจะใช้ไม้เล็กๆ กดคลึงเพื่อ

สลายจุดปวดเกร็ง (Trigger points) ที่เกิดจากการเกร็งตัวของมัดกล้ามเนื้อ จนเกิดเป็นก้อนขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในมัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ให้คลายออก เพื่อลดอาการอักเสบ ขั้นตอนนี้จึงสามารถคลายกล้ามเนื้อบริเวณเล็กๆ ได้ เช่น ข้อมือ นิ้วมือ ข้อศอก ข้อเท้า เป็นต้น สามารถช่วยรักษาอาการ ข้อมืออักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นข้อเท้าอักเสบ เอ็นข้อศอกอักเสบได้

✅ สลายพังผืด ที่เกาะอยู่ตามข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อชั้นลึก ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อผิดปกติ และเกิดการบีบรัดของเส้นประสาทได้ เป็นสาเหตุของอาการ ชา แสบร้อน ไฟช็อต ยิบๆ ได้ ขั้นตอนนี้จึงสามารถรักษาอาการจากการกดทับของเส้นประสาทได้ เช่น โรคเส้นประสาทมีเดียนกดทับที่ข้อมือ และอาการต่างๆ ที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ

ในขณะทำการรักษานั้น เราจะทำทั้ง 2 ขั้นตอนนี้ ควบคู่สลับกันไปในทุกๆ จุดที่มีปัญหา เพื่อแก้ปัญหาได้ครบทุกสาเหตุ และเพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้นจนสามารถรู้สึกได้ถึงความแตกต่างจากการรักษาโดยทั่วๆ ไป

  • เมื่อพังผืดและจุดปวดเกร็งสลายตัวออก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อจะกลับมามีความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อจะคลายตัว อย่างแท้จริง เลือดลมจะหมุนเวียนได้คล่องปกติดังเดิม อาการปวดจึงหายไปอย่างถาวร
  • ในภาวะของผู้ที่มีการ กดทับของเส้นประสาท เมื่อพังผืดและจุดปวดเกร็งถูกสลายออกไป เส้นประสาทจะกลับมาเชื่อมต่อ และทำงานได้ดังเดิม อาการที่เกิดจากเส้นประสาท เช่น อาการชา แสบร้อน หรืออาการผิกปกติอื่นๆ จะหมดไป และ ไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต

ขั้นตอนการนวดสลายพังผืดนี้ เป็นหัวใจสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้อย่างถาวร

คำบอกเล่าส่วนหนึ่ง

ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา อาการบริเวณข้อมือ ข้อศอก และข้อเท้า

พาแฟนมารักษาอาการปวดข้อศอกค่ะ เป็นเอ็นข้อศอกอักเสบเพราะตีกอล์ฟบ่อย ตอนแรกเขาไม่อยากมาเลยเพราะยังเป็นไม่มาก แต่เรามารักษากับคลินิกนี้อยู่แล้ว ก็เป็นห่วงกลัวว่าถ้าปล่อยไว้นานจะลุกลาม รักษายาก  ก็เลยบังคับให้แฟนมารักษา

นวดไปครั้งแรกแล้วหายเลย กลับมาตีกอล์ฟได้ปกติ ตอนนี้ไม่มีอาการปวดอะไรแล้ว แนะนำใครที่เพิ่งเป็นนะคะ รีบมารักษาในตอนที่ยังรักษาง่าย ที่นี่ดีจริงๆ ค่ะ

เป็นนิ้วล็อคค่ะ คิดว่าเกิดจากการใช้มือถือเยอะ เนื่องจากเราขายของออนไลน์ต้องพิมพ์ตอบลูกค้าตลอด เราเสิชหาที่รักษาและเจอคลินิกนี้เข้า เห็นว่ารับรักษาอาการนี้ด้วย เลยตัดสินใจมาเลยค่ะ

นวดไปครั้งแรก เจ็บค่ะ แต่ทนเอา เพราะอยากหาย หลังจากนวดไป อาการดีขึ้นเยอะมากเลยค่ะ ไม่ปวด สามารถงอเหยียดนิ้วได้ปกติ กลับไปพิมพ์ตอบลูกค้าได้โดยไม่มีอาการตึง มาครั้งเดียวจบ กับค่ารักษาแค่นี้ ถือว่าคุ้มมากๆ แนะนำเลย ใครที่มีอาการเดียวกัน อย่าปล่อยทิ้งไว้นะคะ รีบรักษา จะได้หายเร็วอย่างเรา (เราเป็นมา 2 เดือนค่ะ)

เป็นรองช้ำครับ ตอนเช้าตื่นมาเวลาเท้าเหยียบลงพื้น จะปวดตรงส้นเท้ามาก ไปหาหมอกินยาก็ไม่หาย ทำกายภาพมา 2 เดือน ก็ไม่หาย มานวดกับหมอกร 2 ครั้งแล้ว เจ็บ แต่ดีขึ้นจนแทบไม่เหลืออาการใดๆ ขอบคุณคุณหมอมากครับ

ปวดข้อมือเพราะเล่นกีตาร์หนักมากเมื่อ 10 ปีที่แล้ว  รักษามาหลายที่ ทั้งนวด ฝังเข็ม กินยา ฉีดยา แต่ไม่ดีขึ้นเลย นวดกับหมอกรไป 2 ครั้ง อาการดีขึ้นมากๆ แบบที่การรักษาที่อื่นๆ ให้ไม่ได้ เดือนหน้าจะไปนวดซ้ำอีกรอบครับ เอาให้หายขาดเลย

เป็นพนักงานต้อนรับค่ะ ต้องใส่ส้นสูงทำงานตลอด  และเวลารีบๆ ก็มีเท้าพลิกบ่อย เราก็เจ็บเท้ามาตลอดค่ะ พอกลับบ้านก็แช่เท้าในน้ำอุ่นก็บรรเทาอาการได้บ้าง พอกลับมาใส่ส้นสูงอีกก็ปวด ทรมานมากค่ะ ต้องยืนทั้งวัน จนเราเริ่มปวดจนทนไม่ไหว

ไปหาหมอแผนปัจจุบันก็ได้ทานยารักษาค่ะ แต่ก็ยังไม่หาย พอดีเจอเพจของคลินิกในเฟชบุค ก็เลยตัดสินใจมารักษาเลยค่ะ หลังจากนวดไปครั้งแรก อาการดีขึ้นเยอะมากเลยค่ะ ประมาณ 80% ได้เลย เริ่มกลับไปใส่ส้นสูงได้ แต่ยืนนานๆ ยังมีอาการปวดอยู่ ก็มานวดอีกครั้งที่ 2 คราวนี้อาการแทบจะเป็นปกติ 100% เลยค่ะ

สามารถยืนทำงานใส่ส้นสูงได้ปกติ มีความสุขกับการทำงานอีกครั้ง  เพราะสุขภาพไม่เป็นปัญหาในการทำงานแล้วค่ะ

คุณหมอเก่งมากๆ เลยค่ะที่นี่ พาคุณแม่มารักษาอาการปวดข้อมือ เป็นๆหายๆ มาหลายปี ตอนแรกๆ ก็ปวดข้อมือธรรมดา จนช่วงหลังๆ มีชา มีแสบร้อนมือด้วย ไปหาหมอแผนปัจจุบันพบว่าเส้นประสาทถูกกดทับ ก็เลยลองพาแม่มารักษาที่นี่ก่อน เพราะค่าใช้จ่ายผ่าตัดค่อนข้างสูง ตอนนี้มารักษาไป 3 ครั้ง ไม่มีปวด ชา แสบร้อนต่างๆ แล้วค่ะเห็นผลชัดเจนจริงๆ

เริ่มมีอาการปวดข้อศอกได้ประมาณ 1 เดือนแล้วค่ะ  น่าจะเป็นเพราะเราอุ้มลูกตลอด เพราะเราต้องเลี้ยงลูกคนเดียว จนตอนนี้ไม่สามารถอุ้มลูกได้แล้วค่ะ ต้องจ้างพี่เลี้ยงมาช่วย เพราะปวดข้อศอกมาก งอแขนลำบาก ถือของ ยกของหนักก็จะปวด พอดีแฟนรู้จักคลินิกนี้ค่ะ เขาก็เลยจองคิวให้เรามารักษา

พอมานวดครั้งแรก เจ็บมากเลยค่ะ ทรมานมาก บอกแฟนว่าจะไม่มาอีกแล้ว เพราะเจ็บมากทนไม่ไหวแต่พอหลังจากนวดไปอาการเริ่มดีขึ้นมาก งอแขน งอศอกได้ดีขึ้น อาการเจ็บลดลง พอมันดีขึ้นเราก็มีกำลังใจมารักษาต่อ คราวนี้โทรไปจองคิวเองเลยค่ะ

พอมานวดครั้งที่ 2-3 อาการตอนนี้กลับมาเป็นปกติแล้วค่ะ ไม่ปวดแล้ว สามารถกลับไปอุ้มลูกได้ ยกของถือของได้ปกติเลยค่ะ สำหรับใครที่กลัวเจ็บนะคะ อยากให้อดทนสักหน่อย นวดเจ็บไม่นาน แต่ถ้าเราทนมีอาการไปเรื่อยๆ ทรมานกว่าตอนนวดแน่นอนค่ะ

ผมชอบออกกำลังกายโดยการวิ่ง วิ่งวันละเป็น 10 กิโลเลยครับ อยู่ๆ ก็เริ่มมีอาการปวดส้นเท้าขึ้นมาเอ็นร้อยหวายก็ลองเปลี่ยนรองเท้าใหม่ ก็ยังปวดอยู่ดีแต่ก็ปล่อยไว้ไม่ได้สนใจจะรักษาอะไร พอผ่านไป 1 เดือน  เริ่มปวดมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากวิ่งเสร็จจะปวดมากเลยครับ

ก็เลยตัดสินใจไปหาหมอ หมอก็ให้ยาแก้อักเสบมาทาน อาการก็ดีขึ้น แต่พอหยุดยาก็กลับมาปวดเหมือนเดิม ผมเลยค้นหาวิธีการรักษาในอินเตอร์เน็ต จนมาเจอคลินิกนี้นี่แหละครับ ดูจากรีวิวต่างๆ มีอาการคล้ายๆ ผมอยู่ด้วย ก็ตัดสินใจมารักษาเลยครับ

ครั้งแรกมานวดนี่เจ็บมากๆ เลยครับ แต่หลังนวดไปอาการก็ค่อยๆ ดีขึ้น จนครั้งนี้ผมมาครั้งที่ 4 แล้ว
อาการหายดีเป็นปกติแล้วครับ จริงๆ ผมดีขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ครั้งที่ 2 แล้ว แต่อยากเข้ามารักษาปรับกล้ามเนื้อต่างๆ ด้วย จะได้วิ่งได้ดีขึ้นครับ ใครที่กำลังมีอาการแบบเดียวกับผมมารักษาที่นี่เลยครับ ปลอดภัยหายจริงครับ

*** ผลการรักษาอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ***

ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดส้นเท้า เดินกะเผลก ลงน้ำหนักเท้าไม่ได้

ปวดข้อศอก เอ็นข้อศอกอักเสบ

ปวดข้อมือ เอ็นข้อมืออักเสบ

ปวดหน้าแข้ง ปวดน่อง บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ปวดข้อเท้า ข้อเท้าบวม เดินลงน้ำหนักเท้าไม่ได้

ปวดข้อศอก (Tennis elbow)

*** ผลการรักษาอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ***

หากคุณอยากลาขาดจากอาการที่เป็นอยู่ ไม่อยากให้มารบกวนชีวิต รบกวนการพักผ่อน หรือ รบกวนการทำงานของคุณอีกต่อไป

หากคุณอยากจบอาการนี้อย่างถาวรเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่คนรอบข้าง  เมื่อยามแก่ตัวลง

หากคุณอยากกลับไปทำงาน หรือออกกำลังกายได้เต็มที่อีกครั้ง

หยุดเสียเวลา ไปกับการลองผิดลองถูกในการรักษา หยุดเสียเงิน ไปกับการรักษาที่ไม่เห็นผล

รายละเอียดในการรักษา

ข้อมูลที่เกี่่ยวข้องกับการรักษา

ปกติแล้ว 90% ของผู้ป่วย จะเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรก (ในเคสที่เป็นมาไม่นาน จะดีขึ้นเลยทันที แต่ในเคสที่เป็นเรื้อรังมา จะดีขึ้นเพียงระยะหนึ่งเท่านั้น แล้วจะยังเหลืออาการปวดอยู่ เนื่องจากยังแก้ได้ไม่หมด)

แต่จะมีผู้ป่วย 10% ที่ไม่เห็นผลจากการรักษาครั้งแรก เนื่องจากว่า ผู้ป่วยมีอาการสะสมมานาน โดยอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม แต่ส่วนใหญ่จะไปเห็นผลในครั้งที่ 2-3 แทนค่ะ

ในผู้ป่วยที่มีอาการมาไม่เกิน 3 เดือน จะรักษาหายเร็วมาก 1-2 ครั้ง แล้วจบเลย

แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการมานานกว่านั้น ผู้ป่วยอาจจะต้องรักษา แบบต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งโดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะใช้ระยะเวลารักษา 3-8 ครั้ง (บางเคสหายเร็ว บางเคสหายช้ากว่านี้) สาเหตุที่ต้องรักษาหลายครั้ง เพราะเราต้องการให้อาการดีขึ้นอย่างถาวร และป้องกันการกลับมามีปัญหาทรุดหนักเมื่ออายุมากขึ้น

* ผู้ป่วยบางท่านมีอาการสะสมมานานตั้งแต่สมัยหนุ่มสาวแต่ “ไม่รู้ตัว” และเพิ่งมา “ออกอาการ” ได้ไม่นาน ถ้าเป็นลักษณะนี้ จะต้องรักษา “แบบต่อเนื่อง” นะคะ *

แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังมานานกว่า 10 ปี เฉลี่ยแล้วจะใช้เวลารักษาประมาณ 10-15 ครั้ง (ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับก่อนว่า อาการที่เป็นเรื้อรังนานเช่นนี้ จะไม่สามารถรักษาหายได้รวดเร็วอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบไหนก็ตาม ถ้าผู้ป่วยใจร้อนและอยากหายเร็วๆ เราไม่แนะนำให้มาค่ะ เพราะทางคลินิกอาจจะไม่สามารถรักษาให้หายเร็วตามความคาดหวังได้)

ที่นี่รักษาเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30-90 นาที ขึ้นอยู่กับความหนัก-เบาของอาการค่ะ

✅ ไม่อยากใช้ยาไปตลอด ไม่อยากผ่าตัด

✅ ผู้ที่รักษามาแล้วหลายที่ แต่อาการยังไม่ดีขึ้น

✅ ผู้ที่ไม่อยากเสียเวลาลองผิดลองถูกกับการรักษาที่ไม่ได้ผล

✅ ผู้ที่อยากจบปัญหาตั้งแต่ตอนนี้ ไม่อยากให้อาการที่เป็นอยู่ลุกลามทรุดหนักในอนาคต

✅ ผู้ที่ต้องการมีร่างกายที่ดี เมื่ออายุมากขึ้น ไม่อยากเป็นภาระให้กับคนรอบข้าง

✅ ผู้ที่อยากมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่าเดิม ไม่บาดเจ็บ/ไม่ปวดง่าย

✅ ผู้ที่ออกกำลังกายหนักเป็นประจำ และต้องการเคลียร์อาการบาดเจ็บต่างๆ ที่สะสมอยู่ในร่างกายออก เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บหนักในอนาคต

ที่คลินิกเรารักษาด้วยการนวดค่ะ แต่จะไม่เหมือนกับการนวดทั่วๆ ไป เพราะการนวดทั่วไปนั้น เป็นการนวดแค่คลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นๆ ไม่ได้ลงลึกไปแก้ที่สาเหตุ ไม่ใช่การรักษา ดังนั้นจึงไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นแบบถาวรได้

การนวดรักษาของทางคลินิกจะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ:

1. การนวดแผนไทยประยุกต์

ในขั้นตอนนี้ จะนวดโดยการใช้ข้อศอก นวดลงเฉพาะจุดที่มีอาการ เพื่อทำให้กล้ามเนื้อชั้นบนและกล้ามเนื้อชั้นลึก (Deep tissue) คลายตัว จากการหดเกร็ง และการแข็งตึง

ปกติการนวดในขั้นตอนนี้ จะเป็นเพียงการเตรียมกล้ามเนื้อสำหรับการรักษาในขั้นถัดไป แต่ด้วยเทคนิคเฉพาะของทางคลินิก เราสามารถนำการนวดลักษณะนี้มาช่วยแก้อาการเมื่อยเรื้อรัง  ตึงเรื้อรัง รวมถึงช่วยแก้อาการกล้ามเนื้อสันหลังอักเสบ และ อาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ได้อีกด้วย

2. การนวดแกะเส้น

ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการใช้นิ้วมือ “ขยับ” มัดกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่ “จม” ให้เคลื่อนกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม และขยับมัดกล้ามเนื้อที่เกร็งตัวชิดกันจนบีบรัดเส้นประสาท ที่อยู่ด้านใน ให้คลายตัวออกจากกัน

การนวดในขั้นตอนนี้ จะช่วยเรื่องอาการจมได้ เช่น สะบักจม รวมถึง อาการชา อาการตะคริว เช่น มือชา แขนชา ตะคริวที่น่อง เป็นต้น และยังช่วยในเรื่องของอาการ “ตึงรั้ง” ต่างๆ เช่น ตึงจากคอขึ้นศรีษะ ตึงจากบ่าลงแขน เป็นต้น

3. การนวดสลายพังผืด

ในขั้นตอนนี้ เราจะใช้ไม้เล็กๆ นวด เพื่อสลาย:

 พังผืด (adhesion) ที่เกาะอยู่ในบริเวณ ข้อต่อ หรือ หมอนรองกระดูก ที่ทำให้ข้อต่อ หมอนรองกระดูกเกิดอาการแข็ง ยึด ไม่ยืดหยุ่น มีเสียงก๊อกแก็ก เวลาขยับข้อต่อนั้นๆ

✅ จุดปวดเกร็ง (Trigger points) ที่ฝังตัวอยู่ในมัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น และที่บีบรัดจนเส้นประสาทไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ซึ่งจุดปวดเกร็งนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด อาการ ปวด ชา แสบร้อน ไฟช็อต ยิบๆ หรืออาการผิดปกติอื่นๆ

เมื่อพังผืดและจุดปวดเกร็งสลายตัวออก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ หมอนรองกระดูก จะกลับมา มีความยืดหยุ่น กล้ามเนื้อจะคลายตัวอย่างแท้จริง เส้นประสาทจะกลับมาทำงานได้ปกติอีกครั้ง เลือดลมจะหมุนเวียนได้คล่อง อาการปวด ชา แสบร้อน หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ก็จะ “หมดไป” และ ไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต

ในภาวะของผู้ที่เป็น หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท กระดูกทรุด หรือกระดูกเสื่อมนั้น เมื่อพังผืดและจุดปวดเกร็งถูกสลายออกไป การยึดเกร็ง การตึงรั้งระหว่างหมอนรองกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียงก็จะหายไปด้วย หมอนรองกระดูกที่เคยเคลื่อนออก หรือข้อกระดูกที่เคยทรุด จะค่อยๆ ฟื้นตัวและ ขยับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม ได้เอง ตามกลไกการซ่อมแซมของร่างกาย

ขั้นตอนการนวดสลายพังผืดนี้ เป็น หัวใจสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ ดีขึ้นได้อย่างถาวร

การนวดสลายพังผืดที่ได้ผลนั้น จะต้องทำโดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเท่านั้น ผู้ที่ไม่มีความรู้อย่างแท้จริง จะทำได้เพียง กดให้พังผืด “นิ่มลงเท่านั้น” ไม่ได้สลายออกไป ซึ่งเป็นการบรรเทาอาการเพียง “ชั่วคราว” เพราะตราบใดที่เรายังใช้ร่างกายทำอิริยาบถต่างๆ ในทุกๆ วัน พังผืดที่นิ่มตัวลงไปก็สามารถกลับมา “แข็งตัวเป็นก้อน” ใหม่ได้เสมอ ผู้ป่วยก็จะกลับมา “มีอาการซ้ำๆ” อีกในอนาคต

  • ขณะทำการรักษา ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บค่อนข้างมากนะคะ ส่วนใหญ่จะเจ็บในขั้นตอนของการสลายพังผืดและสลาย trigger points ค่ะ ถ้าผู้ป่วยเคยผ่านการนวดแบบเจ็บๆ มาบ้าง จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นคนที่ทนเจ็บไม่ได้เลย เราไม่แนะนำให้มาค่ะ
  • ในผู้ป่วยบางเคส หลังทำการรักษา อาจจะมีรอยฟกช้ำ ถ้าบริเวณนั้นมีชั้นไขมันอยู่เยอะ เช่น ต้นแขน ต้นขา ก้น ใต้ข้อพับเข่า เป็นต้น รอยช้ำเหล่านี้ไม่มีอันตรายใดๆ และสามารถจางไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์ค่ะ
  • ในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังสะสมมานาน ผู้ป่วยต้องใจเย็นและให้เวลากับทางคลินิกในการรักษา เพราะเราต้องรักษาไปทีละขั้นตอน เปรียบเสมือนการขุดขยะที่ฝังอยู่ใต้พรมให้ออกมา ยิ่งเป็นมานาน ยิ่งมีขยะซ่อนอยู่เยอะ ก็ยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าจะขุดออกมาจนหมด แต่เมื่อแก้ออกจนหมดแล้ว ผู้ป่วยจะได้ร่างกายใหม่ที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ อยากทำอะไรก็ทำได้ ไม่เป็นภาระให้กับใครเมื่ออายุมากขึ้น
  • ผู้ป่วยที่มารักษาแล้วไม่เห็นผล ส่วนใหญ่คือผู้ป่วยที่มีอาการสะสมมานานหลายปี แต่ใจร้อนอยากหายไวๆ โดยมากเมื่อมารักษา 1-2 ครั้งแรก แล้วถ้าอาการไม่ดีขึ้นตามที่คาดหวัง ก็จะหยุดการรักษาไปกลางครัน

❌ ที่คลินิกไม่รับนวดรักษาผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวเกิน 90 kg

❌ ที่คลินิกไม่รับนวดรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน

❌ ที่คลินิกไม่รับนวดรักษาในผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์

❌ ที่คลินิกไม่รับนวดรักษาในผู้ป่วยที่ยังมีรอยฟกช้ำอยู่

❌ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ คลินิกจะไม่รับนวดบริเวณ คอบ่าไหล่ แต่อาการอื่นสามารถนวดได้

❌ ผู้ป่วยที่มีโรคความดันสูง จะต้องทานยาคุมความดันมาก่อนเข้ารับการรักษา

ค่ารักษาจะอยู่ที่ 2100/ครั้ง (รักษาเดือนละ 1 ครั้ง)

ทางคลินิกสามารถออก “ใบรับรองแพทย์” และ “ใบเสร็จ” สำหรับผู้ป่วยบางท่านที่อาจนำไปใช้เบิกได้

ถ้าเคยผ่าตัดมาแล้ว จะรักษายากกว่าเคสที่ยังไม่ผ่าตัดนะคะ ดังนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 500.- บาทค่ะ

สามารถจองคิวทางโทรศัพท์ ไลน์ หรือ Facebook page ได้ค่ะ
แต่เนื่องจากคลินิกของเรารับรักษาผู้ป่วยในแต่ละวันจำนวนค่อนข้าง “จำกัด” เพราะต้องการใช้เวลารักษาผู้ป่วยแต่ละท่านอย่าง “เต็มที่” และที่คลินิกคิวจะเต็มเกือบทุกวัน ดังนั้นหากผู้ป่วยต้องการจองคิวรักษา หลังจากนัดวัน-เวลาแล้ว จะต้องขออนุญาตให้ทำการ “โอนมัดจำ” เพื่อล็อคคิวที่แน่นอนไว้ เพื่อไม่ให้เป็นการตัดโอกาสแก่ผู้ป่วยท่านอื่นๆ ค่ะ

อย่าทน กับอาการที่เป็นอยู่ เพราะยิ่งปล่อยไว้นาน ยิ่งแก้ยาก สุขภาพจิตยิ่งเสียหนัก และยิ่งเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าในอนาคต

© Copyright 2020 - นวดแก้อาการ รักษา ปวดหลัง กระดูกทับเส้น ปวดคอ ออฟฟิศซินโดรม ปวดเข่า